ปีนเขาเก็บขยะภูกระดึง

0
2279

ภูกระดึง แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีความงดงาม และมีคุณค่าทางธรรมชาติมหาศาล ในแต่ละปีจะเห็นได้ว่ามีนักท่องเที่ยวเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก แน่นอนเมื่อมีนักท่องเที่ยวมากจำนวนขยะและสิ่งปฎิกูลต่างๆ ก็มีจำนวนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ในฤดูกาลท่องเที่ยวและช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาว ในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาขึ้นภูกระดึงถึงวันละ 4-5,000 คน จากสถิติของอุทยานฯ ระบุว่า นักท่องเที่ยวหนึ่งคน จะผลิตขยะถึง 1.5 กิโลกรัมต่อวัน และโดยส่วนมากแล้ว ตอนขึ้นไปเที่ยวอะไรก็ขนขึ้นไปได้ แต่ตอนขาลงไม่ค่อยจะนำสิ่งที่กลายเป็นขยะลงมาทิ้งกัน นั่นคือภาระที่ทางอุทยานฯ ต้องแบกรับจำนวนขยะนับหมื่นกิโลกรัมในแต่ละปี ส่วนหนึ่งจากการนำขยะลงมานั้นเป็นของผู้ประกอบการที่ได้ทำตามเงื่อนไข และส่วนหนึ่งก็มากจากนักท่องเที่ยวเอง ซึ่งก่อนจะขึ้นนั้นจะต้องมีการแจ้งรายการของที่จะนำขึ้นไปด้วยทุกคน หากเป็นสิ่งของที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น ขวดน้ำพลาสติก กล่องโฟม จะมีการมัดจำเป็นเงิน (ซึ่งก็ไม่ได้มากมายนัก) หลังจากนำลงมาก็จะได้รับเงินมัดจำนั้นคืน ในส่วนนี้เองสำนึกในความรับผิดชอบของนักท่องเที่ยวในแต่คนไม่เท่าเทียมกัน จึงเป็นที่มาของขยะกระจายอยู่ทั่วไปตามทางขึ้น-ลง ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ และการดำรงชีวิตของสัตว์

คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ อพท.
คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ อพท.
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท.
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท.

PHU-18 PHU-7

PHU-8 PHU-16

ในแต่ละปีทางอุทยานได้มีการเก็บขยะก่อนปิดป่าเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ โดยร่วมมือกับชุมชน กลุ่มร้านค้า ลูกหาบ และอาสาสมัครในพื้นที่เท่านั้น ที่เกริ่นมาทั้งหมดเพียงเพื่อจะกล่าวถึงกิจกรรม “บิ๊ก คลีนนิ่ง ภูกระดึง”  อันเป็นกิจกรรมที่ อพท.หรือชื่อเต็มๆ ว่า “องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”  (หน่วยงานของรัฐอีกประเภทหนึ่งนอกเหนือจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสามารถบริหารจัดการองค์กรของตนได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็วกว่าการดำเนินงานตามขั้นตอนปกติของราชการ) จัดกิจกรรม “ปีนเขาเก็บขยะภูกระดึง” โดยมีผู้บริหารระดับสูงของ อพท. คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ อพท. พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท. ร่วมกับหน่วยงานและชุมชนทุกภาคส่วนในจังหวัดเลย อาทิ อำเภอภูกระดึง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย อบต.ศรีฐาน โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม ชุมชนในพื้นที่อ.ภูกระดึงและประชาชนที่ให้ความสนใจ เพื่อสร้างจิตสำนึกและความรักในการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ ถือเป็นกิจกรรมทำความสะอาดให้แก่ภูกระดึงก่อนจะถึงฤดูปิดป่าเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัวและเปิดขึ้นภูกระดึงอีกครั้งในเดือนตุลาคม

PHU=2 PHU-14

PHU-11

* การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมายถึง การบริหารการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเป็นที่มาของรายได้ เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตอันดีงาม และเป็นเครื่องมือในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนนั้น ได้แก่ นักท่องเที่ยว เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ ทั้งนี้การบริหารการพัฒนาควรเกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน

*การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ความเป็นตัวตนที่แท้จริงเกี่ยวกับวิถีชีวิต หรือชีวิตประจำวัน โดยนักท่องเที่ยวมีโอกาสได้ลงมือทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพราะคุณค่าของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์คือการที่นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ตัวตนที่แท้จริงของชุมชนผ่านการท่องเที่ยว

* พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 6 แห่ง ในความดูแลของ อพท.

– พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้าง

– พื้นที่พิเศษเมืองพัทยา

– พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร

– พื้นที่พิเศษเมืองเลย

– พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน

– พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง