More
    More

      The Merry Widow ละครเพลงร้อง Operetta แนว Romantic- Comedy เต็มอิ่มกับบทเพลงบรรเลงออร์เคสตร้าสด

      “The Merry Widow” หรือชื่อในภาษาเยอรมันว่า “Die Lustige Witwe” อาจแปลเป็นไทยได้ว่า “ม่ายสาวพราวเสน่ห์” เป็น Operetta แนว ขบขัน มี 3 องก์ ประพันธ์ดนตรีโดย Franz Lehár นักประพันธ์ชาวฮังการี และประพันธ์คำร้องภาษาเยอรมันโดย Viktor Léon และ Leo Stein ซึ่งนำ เนื้อเรื่องมาจาก L’Attaché d’ambassade ประพันธ์โดย Henri Meilhac โอเปเร็ตต้าเรื่องนี้จัดแสดงที่โรงละคร An der Wien ณ กรุงเวียนนาในวัน ที่ 30 ธันวาคม 1905

      โอเปเร็ตต้าเรื่องนี้มีบทเพลงไพเราะคุ้นหูคือ เพลง “Lippen schweigen” เป็นเพลงร้องสไตล์ Waltz เป็นเพลงคู่ระหว่างพระเอก Danilo กับนางเอก Hanna และเพลง “Vilja” ขับร้องโดยนางเอกของเรื่อง operetta เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประสบความสำเร็จที่สุดของ Franz Lehár และ อาจกล่าวได้ว่าเป็นโอเปร็ตต้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกเรื่องหนึ่ง เคยมีการแสดงติดต่อกัน 483 ครั้ง เมื่อครั้งที่แสดง ผู้ชมต่างพากันคลั่งไคล้ ซื้อหาผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาเก็บไว้เป็นที่ระลึก และเกิดแฟชั่นแต่งตัวเลียน แบบนางเอกในเรื่อง

      โอเปเร็ตต้าเรื่องนี้ได้มีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ เพื่อที่จะทำการ แสดงไปทั่วโลก สิ่งที่พิเศษคือแม้กระทั่ง Adolf Hitler อดีตผู้นำเผด็จการ ก็ ยังเป็นแฟนพันธ์แท้ของโอเปเร้ตต้าเรื่องนี้ ข้อพิสูจน์ก็คือการที่เขาเปิดเพลง จาก Opretta เรื่อง “The Merry Widow” เรื่องนี้เป็นรายการแรกในการ เฉลิมฉลองการรวมดินแดนกับประเทศออสเตรีย. นอกจากนั้นแล้ว ใน 2 ปี สุดท้ายก่อนสิ้นสุดสงคราม ฮิตเลอร์ก็ยังได้ใช้บทเพลงจากโอเปเร็ตต้าเรื่อง นี้ปลอบประโลมใจ เล่ากันว่า เขาเปิดเพลงจาก “The Merry Widow” ฟัง ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกด้วย

      โอเปเร็ตต้าเรื่องนี้เกี่ยวกับม่ายสาวสวย รวยทรัพย์นาม Hanna Glawari เดิมที Hanna นั้นเป็นเพียงลูกสาวชาวไร่ธรรมดา เธอได้แต่งงาน กับนายธนาคารมหาเศรษฐี แต่แล้ววันหนึ่งสามีวัยชราของเธอก็จากไป ทิ้ง ไว้แต่มรดก 40 ล้านฟรังค์ให้เธอเป็นผู้ครอบครอง แม่หม้ายเจ้าเสน่ห์ตัดสิน ใจเดินทางไปยังกรุงปารีสเพื่อตั้งรกรากใหม่ ทำให้ผู้นำประเทศ Pontevedro เป็นกังวลว่าเธอจะแต่งงานใหม่อีกครั้งกับชายหนุ่มที่ไม่ได้อยู่ ประเทศเดียวกับเธอและจะทำให้เงินมหาศาลไหลออกนอกประเทศ เบื้อง บนจึงออกคำสั่งให้ Baron Zeta เอกอัครราชฑูต Pontevedro ประจำกรุง ปารีส จัดการให้เธอแต่งงานใหม่กับชายชาว Pontevedro เท่านั้น Baron Zeta จึงวางแผนที่จะให้เลขานุการหนุ่ม Danilo ผู้ซึ่งเป็นคนรักเก่าของ Hanna แต่ต้องเลิกรากันเพราะครอบครัวฝ่ายชายไม่ยอมรับ กลับมาคืนดี กับเธอให้ได้ แต่ทว่าเรื่องราวกลับยิ่งวุ่นวายเมื่อ Danilo ประกาศลั่นว่าจะ ไม่แต่งงานกับใครเพียงเพราะเงิน ส่วน Hanna ก็ประกาศว่าจะไม่แต่งงาน เด็ดขาดถ้า Danilo ไม่บอกรักเธอก่อน นอกจากนั้นยังมีเรื่องวุ่นๆ เกิดขึ้นอีก ในขณะที่ท่านบารอนเซต้ากำลังทำภาระกิจเพื่อชาติ ภรรยาสาวของ Baron Zeta นามว่า Valanciene ก็เกิดไปกุ๊กกิ๊กกับหนุ่มฝรั่งเศสนาม Camille เรื่องราวเหล่านี้จะคลี่คลายอย่างไรต้องติดตามชมในโอเปเร็ตต้า

      ทางสาขาวิชาขับร้องคลาสสิค เลือกให้ “The Merry Widow” เป็นการแสดงประจำปีของสาขาเนื่องจากเป็นโอกาสที่ดีที่นักศึกษาจะได้นำ ความรู้ทางด้านการร้องเพลงมาผสมผสานกับศิลปะการแสดงและศิลปะการ เต้น เพื่อต่อยอดความรู้และพัฒนาละครเพลงแนว Operetta ให้เข้าถึงง่าย และมีความทันสมัยมากขึ้น รวมถึงพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักร้องที่มีทักษะ รอบด้านมากขึ้นในภายภาคหน้า น้อยครั้งที่เราจะได้รับชมการแสดงละคร เพลงแนวนี้ที่นำแสดงโดยเยาวชน ซึ่งละครเรื่องนี้ถือเป็น Operetta ที่มี ดนตรีที่เหมาะสมกับนักร้องรุ่นเยาว์ ดนตรีฟังสบายไพเราะติดหูไม่น่าเบื่อ บรรเลงโดยออร์เคสตร้าขนาดใหญ่แบบแสดงสดทุกรอบเพิ่มเติมอรรถรส ในการฟังมากขึ้น เนื้อเรื่องก็ตลกขบขันเข้าใจได้ง่าย ซึ่งผู้แสดงทุกคนได้ รับการฝึกฝนอย่างหนักในทุกด้านเพื่อมาทำการแสดงเรื่องนี้

      “The Merry Widow” กำกับการแสดงโดยอาจารย์ นพีสี เรเยส อาจารย์ประจำสาขาขับร้องละครเพลงวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีผลงานใน แวดวงโอเปร่าและ ละครเพลงได้แก่ เป็นผู้กำกับสร้างสรรค์บทและเนื้อร้อง โอเปร่าภาษาไทยเรื่องแรก “The Story of the Long Gone Animal” – “สรรพสัตว์ที่หายไป” กำกับการแสดงโอเปร่าได้แก่ “Der Freichutz” , “The Marriage of Figaro” , “Hansel and Gretel” , “Bastien und Bastien” , “The Impresario” , “Cosi Fan Tutte” , “Land of Smiles” และผลงานกำกับละครเพลงได้แก่เรื่อง “21 3⁄4” และ Workshop the musical สร้างสรรค์บท และหรือเนื้อร้องละครเพลงเช่น อินจันเดอะมิวสิคัล พญากงพญาพาน ในความทรงจำ เป็นต้น

      ในการแสดงครั้งนี้ผู้กำกับจะพาผู้ชมย้อนยุคไปสู่ยุคสมัยแห่งศิลปะ แบบ Art Nouveau คือในราวปี คศ. 1905 แต่เนื้อหาการแสดงไม่ได้ดู โบราณหรือเข้าใจยากแต่อย่างใด. ผู้ชมจะได้รับชมโอเปเร็ตต้าแนว โรแมนติคคอมมาดี้ที่ดูสนุก มีตัวละครที่มีสีสันเผ็ดมัน มีเรื่องราวให้ตามลุ้น มีตัวละครประเภทพ่อแง่แม่งอน ความรักที่ไม่อาจเปิดเผย ก่อนจะจบลง อย่างอิ่มเอมตามสไตล์โอเปเร็ตต้า. ลองมาดูกันว่าเหตุใดโอเปเร็ตต้าเรื่อง นี้จึงเป็นโอเปเร็ตต้ายอดนิยมอันดับ 1 ตลอดกาล

      (หมายเหตุ การแสดงแนว”โอเปเร็ตต้า” หมายความว่าเป็นการแสดงที่มี การร้องเพลงโดยใช้เทคนิคการร้องเหมือนกับโอเปร่า มีบทพูดสลับ มีการ เต้นรำประกอบ เนื้อเรื่องมักเกี่ยวข้องกับดินแดนที่ห่างไกล หรือ exotic ชวน ฝันและมักมีเนื้อหาที่ “เบา” กว่าโอเปร่า )

      ในการแสดงครั้งนี้ จะมีการแปลบทพูดและบทร้องเป็นภาษาไทยและ อังกฤษ ฉายเป็นซับไตเติลตลอดการแสดง

      มีวงออร์เคสตร้าขนาดใหญ่บรรเลงประกอบสด ทุกรอบ โดยวาทยากร หญิงชั้นแนวหน้าของไทย อาจารย์ภมรพรรณ โกมลภมร

      รายละเอียดการแสดง
      ❖ รอบที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2563 เวลา 19.00
      ❖ รอบที่ 2 วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563 เวลา 19.00
      ❖ รอบที่ 3 วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2563 เวลา 13.30
      ❖ รอบที่ 4 วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2563 เวลา 19.00

      ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา สามารถซื้อตั๋วชมการแสดงได้ทาง

      🔹 ติดต่อไลน์ Line @msvoice 🔹 โทร Tel : 097-323-5719

      เฟซบุค https://www.facebook.com/merrywidowth/
      เว็บไซต์ทิคเก็ตเมลอน https://www.ticketmelon.com/msmu/themerrywidow

      [td_block_social_counter facebook="/MusicArtMagazine" youtube="channel/UCkBloEDlSI8SYOr4tp50z-g" instagram="musicandartmag" open_in_new_window="y" style="style8 td-social-boxed td-social-font-icons"]

      Related Stories