More
    More

      we will have been young นิทรรศการภาพถ่าย

      นิทรรศการภาพถ่าย we will have been young นำเสนอผลงานของช่างภาพรุ่นใหม่ 12 คนจาก 8 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมเวิร์คช็อปด้านการถ่ายภาพที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในปี 2559 โดยช่างภาพชาวเยอรมัน Jörg Brüggemann และ Tobias Kruse จากเอเจนซี่ถ่ายภาพ Ostkreuz

      เวิร์คช็อปในครั้งนั้นวางแผนเป็นโครงการระยะยาวที่มุ่งให้ช่างภาพรุ่นใหม่ในภูมิภาคได้ทำงานเกี่ยวกับหัวข้อที่สำคัญร่วมกัน โครงการดังกล่าวได้ทำให้ช่างภาพทั้ง 12 คนที่เข้าร่วมได้มาพบกันและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากมายจากช่างภาพมืออาชีพผู้จัดเวิร์คช็อปทั้งสองท่าน โดยผู้เข้าร่วมโครงการจากภูมิภาคดังกล่าวมาจากประเทศไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม จากเวิร์คช็อปที่จัดขึ้นระหว่างเทศกาล the Obscura Festival และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเข้มข้นระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและช่างภาพผู้จัดงาน จึงได้เกิดเป็นแผนงานและซีรีย์ภาพถ่ายในชื่อ youth and future ในท้ายที่สุด

      ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรมของชีวิตผู้คนวัยหนุ่มสาว ในบริบทที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวาของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการรวมตัวเข้าด้วยกันของประเทศในอาเซียน เรื่องราวผ่านมุมมองภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ตั้งแต่การนัดเดทออนไลน์ ความสัมพันธ์ สุขภาพจิตและความป่วยไข้ ไปจนถึงเรื่องราวการค้นหาตัวตน ความคิดสร้างสรรค์และคำถามเรื่องทรัพย์สิน

      โดยภาพแต่ละชุดได้ใช้แนวทางอันเป็นเอกลักษณ์ในการถ่ายทอดหัวข้อดังกล่าวออกมาและนำพาผู้ชมไปสู่แง่มุมอันแตกต่างของการเป็นคนหนุ่มสาว รวมไปถึงจุดร่วมส่วนตัวของช่างภาพที่มีต่อหัวข้อดังกล่าว

      วรรษมน ไตรยศักดา ตัวแทนช่างภาพจากประเทศไทยได้นำเสนอผลงานชุด 7465 โดยในงานชิ้นนี้ วรรษมนได้สนใจคำถามที่ว่า เหตุใดทุกคนจึงมักถามเด็กๆ ว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” แทนที่จะถามว่า “ตอนนี้อยากเป็นอะไร” เลข 7465 เป็นตัวแทนของตัวตนที่ซ่อนอยู่ของวัยรุ่นที่ถูกปิดกั้นการแสดงออกและต่อสู้เพื่อตัวตนของพวกเขา

      หลังเดินทางไปจัดแสดงนิทรรศการที่สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และมาเลเซียมาแล้วในปี 2561 นิทรรศการยังได้ถูกนำไปจัดแสดงที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ตและเบอร์ลินในปี 2562 ที่ผ่านมาอีกด้วย และในเดือนกุมภาพันธ์นี้ก็จะนำมาให้ชาวไทยได้ชมเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ

      พิธีเปิดนิทรรศการ
      20 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 17.00 น.
      ณ ริเวอร์ ซิตี้ แกลเลอรี่
      เข้าชมฟรี

      กิจกรรมนำชมนิทรรศการ และร่วมพูดคุยกับศิลปิน
      8 มีนาคม 2563 เวลา 15.00 น.
      ณ ริเวอร์ ซิตี้ แกลเลอรี่  | เข้าชมฟรี
      กำหนดการดังกล่าวจะถูกดำเนินการเป็นภาษาอังกฤษ

      เหล่าช่างภาพอย่าง Alvin Lau (มาเลเซีย) Dwi Asrul Fajar (อินโดนีเซีย) Amrita Chandradas (สิงคโปร์) Lee Chang Ming (สิงคโปร์) Yu Yu Myint Than (เมียนมาร์) Geric Cruz (ฟิลิปปินส์) Muhammad Fadli (อินโดนีเซีย) และวรรษมน ไตรยศักดา (ประเทศไทย) จะมาแบ่งปันและพูดคุยเกี่ยวกับงานของพวกเขา รวมไปถึงที่มาที่ไปกว่าจะมาเป็นนิทรรศการภาพถ่าย we will have been young นี้ นิทรรศการดังกล่าวเป็นผลลัพธ์จากเวิร์คช็อปการถ่ายภาพนาน 1 ปี และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างเหล่าช่างภาพ และเพื่อสะท้อนผลงานออกมาภายใต้หัวข้อ ‘youth and future’ ในบริบทร่วมสมัยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      ประวัติโดยย่อของศิลปิน

      Alvin Lau, *1994, มาเลเซีย
      ผลงานของ Alvin มุ่งสำรวจเรื่องความตายและชีวิต เขาเริ่มต้นการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกและต่อมามันก็เป็นมากกว่านั้น หลังศึกษาด้านบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยซันเวย์ไปได้ไม่นาน เขาก็ดร็อปเรียนเพื่อมาออกมาเป็นช่างภาพเต็มตัว Alvin ได้เข้าร่วมเวิร์คช็อปกับช่างภาพอเมริกันชื่อดัง Maggie Steber ที่เทศกาล OBSCURA Festival of Photography ในปี 2015 ต่อมาเขาได้รับรางวัล Kuala Lumpur Photo Awards, รางวัล Asia Photographer of the Year 2015 และได้รับทุน IPA Photography ในปี 2017 เมื่อปีที่ผ่านมา งานของเขายังได้ถูกนำไปจัดแสดงที่เทศกาล Jeonju International Photo Festival และเทศกาล Landskrona Photo Festival อีกด้วย


      Amrita Chandradas, *1987, สิงคโปร์
      Amrita Chandradas เป็นช่างภาพสารคดีที่มีถิ่นพำนักอยู่ที่สิงคโปร์ เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการถ่ายภาพวารสารศาสตร์และสารคดีจาก London College of Communications ในปี 2015 และเคยได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 30 สุดยอดคนที่อายุน้อยกว่า 30 ของ Magnum ในปี 2014 มาแล้ว นอกจากนั้น ผลงานของเธอยังได้เคยไปปรากฏใน New York Times, BBC world และ Dagbladet อีกด้วย เธอมุ่งสำรวจประเด็นเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ โดยหวังที่จะนำประเด็นปัญหาที่ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงอย่างการย้ายถิ่นฐานและการดิ้นรนต่อสู้ให้เป็นที่สนใจผ่านความเข้าใจที่ลึกซึ้งของเธอเอง


      Dennese Victoria, * 1991, ฟิลิปปินส์
      งานของ Dennese Victoria’s มุ่งประเด็นไปที่หัวข้อเรื่องความจริง ความทรงจำและประวัติศาสตร์ส่วนตัว เธอจบการศึกษาด้านวารสารศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Santo Tomas ในกรุงมนิลา และต่อมาในปี 2012 ก็ได้เข้าร่วมเวิร์คช็อปด้านการถ่ายภาพที่เสียมเรียบ กัมพูชา ภาพถ่ายเกี่ยวกับครอบครัวของเธอในชุด “Birds, Curtains and Objects” ได้ถูกนำไปจัดแสดงแบบสไลด์โชว์มาแล้วทั้งที่มนิลา สิงคโปร์และอินเดีย และล่าสุดยังได้จัดแสดงแบบงานพิมพ์ ภายในYoung Talents Program ที่เทศกาล La Quatrieme Image Festival 2017 ที่ฝรั่งเศสด้วย


      Dwi Asrul Fajar, *1986, อินโดนีเซีย
      ปัจจุบัน Dwi Asrul Fajar อาศัยอยู่ที่จาการ์ตา เขาใช้การถ่ายภาพเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบในเรื่องสิ่งไม่รู้ทางจิตวิทยา รวมไปถึงความจริงของเราและสิ่งแวดล้อม เขาทำการทดลองด้วยการถ่ายภาพแบบสารคดีเชิงกายภาพ วิเคราะห์ชั้นการมองเห็นและแนวทางการเล่าเรื่องของมัน เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพกลุ่ม White Light Collective ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของช่างภาพจากประเทศต่างๆ 7 ประเทศที่มีความสนใจร่วมกันเพื่อพบปะและทำงานร่วมกัน งานของเขาได้รับการตีพิมพ์และจัดแสดงนิทรรศการมาแล้วทั้งที่อินโดนีเซียและในต่างประเทศ


      Elliott Koon, *1980, มาเลเซีย
      Elliott Koon เป็นช่างภาพและนักดนตรีอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์  เขาเคยเข้าร่วมเวิร์คช็อป OBSCURA Festival of Photography 2015 มาแล้ว งานของเขาได้ไปโลดแล่นอยู่ในหน้าสื่อออนไลน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Black and White Street Photography, Mononami, Fine Art Tokyo, Street View Photography, Street View Photography Taiwan, Ricoh GR Photography community และอื่นๆ อีกมากมาย เขาเคยนำเสนอภาพถ่ายของเขาในนิทรรศการชื่อ Dream Centre ที่กัวลาลัมเปอร์ในปี 2013 นอกจากนั้นภาพของเขายังเคยได้ลงหนังสือนิตยสาร Photo VOGUE Italia และ Baccarat ในปี 2014 ต่อมาในปี 2015 งานของเขาได้ไปร่วมแสดงที่งาน Nikon Photo Week ที่มาเลเซียและในปี 2016 หนึ่งในงานของเขาที่ญี่ปุ่นก็ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน “30 สุดยอดภาพถ่ายสตรีท” บนหน้าเว็บไซต์ rosphoto.com


      Geric Cruz, *1985, ฟิลิปปินส์
      Geric เป็นช่างภาพอิสระอยู่ที่มะนิลา เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านมัลติมีเดียที่ College of St. Benilde ในมะนิลา จากนั้นได้เข้าร่วมเวิร์คช็อปมากมาย อาทิ ในกัมพูชาและ the Foundry workshop ที่เชียงใหม่ งานของเขามักมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับครอบครัว ทรัพสินย์และความมั่นคงถาวร ผลงานชื่อ “Second Star to the Right” ของเขาได้ถูกนำไปจัดแสดงที่เทศกาล Delhi Photo Festival ในอินเดีย นอกจากนั้น งานของเขายังได้รับเชิญไปจัดแสดงนิทรรศการมาแล้วในหลายประเทศ ทั้งที่สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้และเดนมาร์ก เป็นต้น อีกทั้งยังเคยได้ตีพิมพ์ในหนังสือนิตยสาร Wallpaper magazine, The fader, Pulitzer Centre, Esquire magazine และอื่นๆ อีกมากมาย

      Kanel Khiev, *1988, กัมพูชา
      Kanel Khiev ช่างภาพดีกรีปริญญาตรีสองใบ ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์ตอมพิวเตอร์และการบัญชี และปริญญาโทด้านการตรวจสอบบัญชี ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารระดับสูงอยู่ที่สถาบันการเงินแห่งหนึ่งในกัมพูชา ความสนใจด้านการถ่ายภาพของเขาเริ่มต้นในปี 2013 เขาเข้าร่วมเวิร์คช็อปและคอร์สสอนถ่ายภาพมากมายเพื่อทำตามความฝันที่จะเป็นช่างภาพมืออาชีพของเขาให้ได้ ผลงานของเขาเคยได้ไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการมาแล้วหลายครั้ง อาทิ “Portrait of the Soul” ในปี 2015 “Adorned Body Transform“ และ “Perspective of Fashion and City by Night” ในปี 2016 และ “Architecture and Landscapes” ในปี 2017 ซึ่งจัดโดยสมาคมฝรั่งเศสในกัมพูชา


      Lee Chang Ming, *1990, สิงคโปร์
      Lee Chang Ming สนใจในเรื่องอัตลักษณ์ สัญศาสตร์ภาพและการนำเสนอ เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย National University of Singapore ในปี 2015 ด้วยเกียรตินิยมระดับ BSocSci ในสาขาการสื่อสารและสื่อใหม่ เขาเป็นบรรณาธิการผู้ก่อตั้ง Nope Fun สื่อกลางที่นำเสนองานของช่างภาพและศิลปินจากทั่วโลก ผลงานของเขาเคยได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ มาแล้ว อาทิ VICE, Galavant Magazine, Brownbook Magazine, Ellipsis Journal เป็นต้น นอกจากนั้นยังเคยได้ไปจัดแสดงงานมาแล้วทั้งที่เทศกาล frame Festival 2014 ที่ออสเตรีย และในโครงการ ArtScience and Grey ที่สิงคโปร์ และอื่นๆ อีกมากมาย


      Linh Pham, *1991, เวียดนาม
      Linh Pham เป็นช่างภาพที่เกิดและโตที่กรุงฮานอย เวียดนาม งานของเขาทำให้เขาได้เดินทางไปบันทึกภาพเชิงสารคดีเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยคะฉิ่นในเมียนมาร์ตอนเหนือ ติดตามชนกลุ่มน้อยชาวคิวบาที่อพยพจากฮาบาน่าไปยังยุโรปกลาง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชนกลุ่มน้อยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเวียดนามบนยอดเขาสูง รวมไปถึงการเข้าไปคลุกคลีอยู่กับกลุ่มคาธิลิกชาวกัวเตมาลา เป็นต้น แม้เขาจะทำงานในระดับนานาชาติมาแล้วมากมาย แต่งานส่วนตัวของเขานั้นก็มักเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวปัญหาของระบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในเวียดนามซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา งานของเขาที่ลงไว้ในเว็บไซต์ Getty Images ได้ถูกนำไปใช้ในงานพิมพ์ใหญ่ๆ ระดับโลกมาแล้วมากมาย






      Muhammad Fadli, *1984, อินโดนีเซีย
      Muhammad Fadli เป็นช่างภาพจากเกาะสุมาตราที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่จาการ์ตา งานของส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายเชิงสารคดีและภาพบุคคล ผลงานของเขาเคยได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือนิตยสารและวารสารที่มีชื่อเสียงมาแล้วมากมาย อาทิ PROOF Nat Geo, Der Spiegel, Monocle, Afar, Forbes, Financial Times Weekend เป็นต้น นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Arka Project ซึ่งเป็นกลุ่มช่างภาพอิสระในอินโดนีเซียอีกด้วย

       




      วรรษมน ไตรยศักดา, *1990, ประเทศไทย
      วรรษมน ไตรยศักดาหรือ “จูน” เป็นช่างภาพชาวไทยที่เป็นนักเล่าเรื่องด้วยภาพ เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวัฒนธรรมศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2013 และระดับประกาศนียบัตรด้านการถ่ายภาพวารสารศาสตร์จาก Konrad Adenauer Asian Center for Journalism พร้อมทุนเต็มจำนวนที่มหาวิทยาลัย the Ateneo de Manila University ในปี 2015 เธอเป็นช่างภาพที่มักบันทึกเรื่องประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิ์ของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) ในประเทศไทยและอาเซียน นอกจากนั้นยังทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์ทั้งในและต่างประเทศ องค์การต่างๆ และภาคเอกชนด้วย โปรเจ็คที่เธอทำเกี่ยวกับชีวิตของผู้ชายข้ามเพศชาวไทยในชื่อ “MR. PEARL” ได้ไปจัดแสดงมาแล้วทั้งที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่และเกาหลีใต้ในปี 2016 ที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมเป็นผู้ให้คำปรึกษาในเทศกาล Chiangmai Documentary Arts Festival และเป็นส่วนหนึ่งในโครงการของ UNDP ที่ชื่อ Being LGBTIQ ในโครงการแลกเปลี่ยน Asia Media Fellowship Programm อีกด้วย


      Yu Yu Myint Than, *1984, เมียนมาร์
      Yu Yu Myint Than เป็นช่างภาพชาวเมียนมาร์อยู่ที่เมืองย่างกุ้ง นอกจากจะเป็นครูฝึกหัดแล้ว เธอยังไล่ตามความฝันที่จะเป็นช่างภาพไปด้วย ในปี 2014 เธอได้รับทุนการศึกษาเป็นเวลา 3 เดือนเพื่อไปเข้าร่วมเวิร์คช็อป International Reporting Workshop และได้ฝึกงานที่สถาบัน Pathshala South Asian Media Institute ในเมืองธากา บังกลาเทศ หลังจบโครงการดังกล่าว Yu Yu ก็ได้มาเป็นช่างภาพประจำของหนังสือพิมพ์ The Myanmar Times หลังทำงานไปได้ 11 เดือน เธอก็พบว่าเธอไม่สามารถเป็นช่างภาพได้อย่างเต็มตัวหากยังทำงานประจำอยู่ที่สำนักพิมพ์ จึงได้ออกมาเป็นช่างภาพเชิงสารคดีอิสระ เธอเข้าร่วมกับ Myanmar Deitta ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานเพื่อพัฒนาช่างภาพและผู้กำกับภาพยนตร์ท้องถิ่น ที่นั่นเธอรับหน้าที่เป็นผู้พัฒนาโครงการด้านการศึกษา ปัจจุบันเธอเป็นผู้ได้รับทุนในโครงการ Photography and Social Justice ของมูลนิธิ Magnum Foundation ที่นิวยอร์ก เธอมีความสนใจที่จะเปิดเรื่องราวที่ถูกปิดเอาไว้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางเพศและสิทธิมนุษยชนที่มีฐานอยู่บนอารมณ์ ความทรงจำและความฝัน

      [td_block_social_counter facebook="/MusicArtMagazine" youtube="channel/UCkBloEDlSI8SYOr4tp50z-g" instagram="musicandartmag" open_in_new_window="y" style="style8 td-social-boxed td-social-font-icons"]

      Related Stories