More
    More

      สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดเสวนา หัวข้อ “Mommer and His Lagacy” เข้าชมฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

      -

      สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดเสวนา หัวข้อ “Mommer and His Lagacy” เข้าชมฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

      วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 19.00น.
      ณ ห้องสังคีตวัฒนา อาคารอำนวยการ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
      ผู้สนใจเข้าชมฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

      ฮันส์ กุนเธอร์ มอมเมอร์ (Hans Gunther Mommer) ผู้อำนวยเพลงที่มีชื่อเสียง ชาวเยอรมัน ได้เข้าทำงานในเมืองไทย ช่วงปี2510-2518 โดยความสนับสนุนจากสถาบันวัฒณธรรมเยอรมัน ที่เรียกันว่า สถาบันเกอเธ่ฯในยุคนั้น มาทำงานเป็นผู้อำนวยเพลงประจำวงให้กับโปรมูสิกา วงเชมเบอร์ออร์เคสตราสมัครเล่นในยุคนั้น และ รับเชิญไปอำนวยเพลงให้กับวงต่างๆในเมืองไทย มอมเมอร์ ถือเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของการพัฒนาดนตรีคลาสสิกในเมืองไทย ช่วงปี 2510-2518 โดยเฉพาะในด้านการปรับวงดนตรี วางมาตรฐาน และเทคนิคการเล่นของวงออร์เคสตราของเมือไทยในอดีต การเสวนาครั้งนี้ จะเล่าเรืองราว ในการพัฒนา วงการดนตรี  และฟังบทเพลงหายาก ทั้งเพลงไทยเดิม เพลงพระราชนิพนธ์ บรรเลงโดยวงโปรมูสิกา ขับร้องโดย คุณ สวลี ผกาพันธ์ เรียบเรียงดนตรีโดยมอมเมอร์

      ในการเสวนาดังกล่าว สถาบันกัลยาฯ ได้เชิญวิทยากรอาวุโสที่เคยร่วมงานกับ มอมเมอร์ อาทิ คุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช  ศิลปินแห่งชาติ นักเปียโน พลเรือตรี วีระพันธ์ วอกลาง อดีตผู้บังคับการกองดุริยางค์ทหารเรือ นักไวโอลินระดับปรมาจารย์  สมาชิกวงโปรมูสิกาในอดีต ซึ่งเคยร่วมอำนวยเพลงให้กับวงโปมูสิกายุคนั้นด้วย อาจารย์ภูกร ศรีณรงค์ อดีตนักวิโอล่า และนักไวโอลินวงโปรมูสิกา อดีตหัวหน้าวงBSOในยุคแรก  ต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยเพลงวงดุริยางค์เยาวชนไทย วิทยา ตุมรสุนทร  อดีตนักไวโอลินสมัครเล่นวงโปรมูสิกา ผู้ร่วมก่อตั้งวงBSO ต่างจะมาเล่าเรื่อราว อันน่าประทับใจและสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการร่วมงานกับมอมเมอร์เมือ50 ปีก่อนในการเสวนา จะได้รับฟังบทเพลงหายาก ซึ่งวงโปรมูสิกาได้บันทึกเป็นแผ่นเสียงไว้ ทั้งเพลงไทยเดิม เพลงพระราชนิพนธ์ ขับร้องโดย คุณ สวลี ผกาพันธ์ นักร้องรับเชิญ เรียบเรียงดนตรีและอำนวยเพลงโดย ฮันส์ กุนเธอร์ มอมเมอร์  

      ฮันส์ กุนเธอร์ มอมเมอร์  ผู้อำนวยเพลงมืออาชีพชาวเยอรมัน จากเมืองสตุทการ์ท (Stuttgart) ผู้มากด้วยประสบการณ์
      เคยอำนวยเพลงให้กับวงออร์เคสตราระดับอําชีพทั้งในเยอรมัน ยุโรป ลาตินอเมริกา และ เอเชียตะวันออก
      เคยทำงานร่วมกับศิลปินเดี่ยวชื่อดังหลายคน อาทิ Friedrich Gulda, Nikanor Zabaleta, Daniel Barenboim

      มอมเมอร์ได้เดินทางมาเมืองไทย ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยเพลงประจำวงโปรมูสิกา ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2510 – 2518
      โดยสถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน เป็นผู้สรรหาและสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยการริเริ่มจาก ดร.ดับลิว คินเซล (Dr.W.Kuenzel)
      ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ ในขณะนั้น Pro Musica เป็นวงเชมเบอร์ออรเคสตราสมัครเล่นกึ่งอาชีพ ก่อตั้งขึ้นราว ปีพ.ศ. 2508 ผู้ริเริ่มคืออาจารย์กำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ร่วมกับหม่อมหลวง อัศนี ปราโมช สมาชิกนักดนตรีมีทั้งมืออาชีพจากหน่วยราชการ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกองดุริยางค์ทหารเรือ และจากทหารอากาศ กรมศิลปากร นักดนตรีสมัครเล่นเอกชนจากสาขาอาชีพต่าง ๆ

      ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่พำนักในกรุงเทพฯ ทุกคนต่างมาเล่นดนตรีด้วยใจรัก ไม่มีค่าตอบแทน สมกับชื่อ “Pro Musica” ซึ่งหมายถึง ผู้รักดนตรีเมื่อ มอมเมอร์ เข้ามาร่วมงานกับวง สมาชิกนักดนตรีต่างก็ได้เรียนรู้ วิธีการเล่นดนตรีคลาสสิคอย่างถูกวิธี ได้มาตรฐานดีขึ้น การแสดงคอนเสิร์ตของวง ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ชําวต่างชาติที่มีชื่อเสียงที่อยู่ในเมืองไทยกล่าวว่า วง โปรมูสิกา เป็นวงสมัครเล่นที่มีฝีมือมาตรฐาน สามารถอวดชาวต่างชาติได้และเป็นวงออร์เคสตราสมัครเล่นวงเดี่ยว วงแรกในเมืองไทยขณะนั้น

      ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สถาบันดนตรีกัลยาณี 02-447-8594 ต่อ 1130 

      📅 ในวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 19.00 น.
      📍 ณ ห้องสังคีตวัฒนา อาคารอำนวยการ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
      📞 ติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ 02-447-8594 ต่อ 1130
      👩‍💻 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Princess Galyani Vadhana International Music Festival
      📌 เข้าชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

      [td_block_social_counter facebook="/MusicArtMagazine" youtube="channel/UCkBloEDlSI8SYOr4tp50z-g" instagram="musicandartmag" open_in_new_window="y" style="style8 td-social-boxed td-social-font-icons"]

      Related Stories