More
    More

      กิจกรรมฉายภาพยนตร์พร้อมเสวนาเรื่อง “Mlabri in the Woods”

      เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์

      เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) และ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์พร้อมเสวนาเรื่อง “Mlabri in the Woods” ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เวลา 14:00 – 17:30 น. ณ ห้องออดิทอเรียมชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

      วัน – เวลา:            วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฏาคม 2565, 14:00 – 17:30 น.

      สถานที่:                 ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

      ค่าเข้าชม:             ไม่เสียค่าใช้จ่าย
      ภาษา:
                       ภาพยนตร์เสียง ภาษาไทย, ภาษาญี่ปุ่นและภาษามลาบรี พร้อมบทบรรยาย ภาษาอังกฤษ

      กิจกรรมเสวนาจะดำเนินรายการเป็น ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย

      ลงทะเบียน:          https://www.eventpop.me/e/13265

      กิจกรรมแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กิจกรรมฉายภาพยนตร์และเสวนาหลังชมภาพยนตร์ “Mlabri in the Woods” กับคุณคาเนโกะ ยู ผู้กำกับและนักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น, คุณอิโตะ ยูมะ นักภาษาศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชาวมลาบรีที่เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับความเข้าใจน้อยที่สุด

      ภาพยนตร์เรื่อง “Mlabri in the Woods” เป็นภาพยนตร์สารคดีที่คุณคาเนโกะ ยู ใช้ระยะเวลาต่อเนื่องถึง 2 ปีในการตามติดชีวิตชาวมลาบรี กลุ่มชาติพันธุ์ที่ร่อนเร่เข้าไปในป่าลึก หลบเลี่ยงจากคนบนที่ราบ สร้างเพิงพักชั่วคราวจากไม้ไผ่และใบตอง โดยถ่ายทำร่วมกับคุณอิโตะ ยูมะที่สามารถพูด 6 ภาษารวมถึงภาษามลาบรีได้อย่างคล่องแคล่ว ในส่วนของการเสวนานั้นจะดำเนินรายการโดยคุณอภินันท์ ธรรมเสนา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) และแปลไทยโดยคุณสิริพร ด่านสกุล อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งนี้กิจกรรมนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ (Sound of the Soul) ซึ่งจะจัดแสดงระหว่างวันที่ 19 – 31 กรกฎาคม 2565 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

      กำหนดการฉายภาพยนตร์

      สถานที่ : ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปกรุงเทพฯ
      วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565
      13:30 – 14:00   ลงทะเบียน

      14:00 – 15:30     พิธีกรกล่าวทักทายและฉายสารคดี (85 นาที)  

      15:30 – 15:40     พัก   

      15:40 – 17:10     กิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับสารคดี “Mlabri in the Woods” นำโดย

      • คุณคาเนโกะ ยู ผู้สร้างภาพยนตร์, นักวิจารณ์ภาพยนตร์และรองศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปะทามะ
      • คุณอิโตะ ยูมะ นักภาษาศาสตร์ (เข้าร่วมทางออนไลน์)
      • ดำเนินรายการโดย คุณอภินันท์ ธรรมเสนา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน)
      • แปลไทยโดย คุณสิริพร ด่านสกุล อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

      17:10 – 17:30     ช่วงถาม – ตอบ (Q&A)

      ลงทะเบียนได้ที่ https://www.eventpop.me/e/13265 (รับวอล์คอินจำนวนจำกัด)

      *หลังลงทะเบียนบนเว็บไซต์เรียบร้อยท่านจะได้รับตั๋ว QR Code ทางอีเมล กรุณาแสดงตั๋วนี้บริเวณจุดลงทะเบียนเพื่อเข้างาน

      ประวัติผู้เสวนา

      คาเนโกะ ยู

      ผู้สร้างภาพยนตร์, นักวิจารณ์ภาพยนตร์และรองศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปะทามะ

      เกิดที่จังหวัดไซตามะในปี ค.ศ. 1974 เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ลและนักวิจารณ์ภาพยนตร์ และยังเป็นผู้จัดโปรแกรมฉายของเทศกาลภาพยนตร์สารคดีโตเกียวตั้งแต่ปี 2018 ผลงานภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ ได้แก่ “Belgrade1999” ปี 2009 “Muneo-ism” ปี 2012 และ “Imperial” ปี 2014 ผลงานล่าสุดของเขาคือ “A Man Who Became Cinema” ปี 2018 เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ทั่วประเทศญี่ปุ่น ผลงานผลิตภาพยนตร์อย่าง “The Garden Apartment” ปี 2018 ได้ถูกฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเตอร์ดัม เทศกาลภาพยนตร์โอซาก้าเอเชียน “Mlabri in the Woods” ปี 2019 เป็นภาพยนตร์สารคดีขนาดยาวเรื่องที่ 5 ของเขาและถูกฉายที่เทศกาลภาพยนตร์สารคดีโตเกียว, เทศกาลภายนตร์นานาชาติกัมพูชา, IUAES Anthropological Film Festival และอีกมากมาย นอกจากนี้เขายังตีพิมพ์งานเขียนทางด้านประวัติศาสตร์ภาพยนตร์และมานุษยวิทยาวัฒนธรรมมากกว่า 20 เล่ม เช่น “Folklore in Borderland”, “Boundary of Images” (ได้รับรางวัล The SUNTORY Academic Awards), “Ethnography of Photology.” เขียนและเรียบเรียงหนังสือโดย Chris Marker, อภิชาติพงศ์วีระเศรษฐกุล, Jean Rouch, และ Agnes Verda

      อิโตะ ยูมะ

      นักภาษาศาสตร์ (เข้าร่วมทางออนไลน์)

      นักภาษาศาสตร์และนักวิจัยอิสระ เกิดที่จังหวัดชิมาเนะในปี ค.ศ.1986 หลังลาออกจากบัณฑิตวิทยาลัยอักษรศาสตร์ (Graduate School of Letters) มหาวิทยาลัยเกียวโต เขาทำงานในฐานะนักวิจัยขององค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่นที่สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมแห่งเอเชีย-แอฟริกา มหาวิทยาลัยโตเกียวศึกษาต่างประเทศ (Tokyo University of Foreign Studies) ตั้งแต่ปี 2018 ถึงปี 2020 เขาเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยการศึกษานานาชาติโทยามะ (Toyama University of International Studies) เขาได้เข้าไปยังใจกลางพื้นที่ท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและประเทศลาว และทำการวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภาษาตั้งแต่ตอนที่ยังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ภาษา
      มลาบรีจึงเป็นภาษาที่เขาเชี่ยวชาญรองลงมาจากภาษาญี่ปุ่น

      อภินันท์ ธรรมเสนา

      ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน)

      เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาในระดับปริญญาโทจาก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักมานุษยวิทยา เขามีความสนใจที่หลากหลายรวมไปถึงเรื่องมานุษยวิทยาสื่อ, กลุ่มชาติพันธุ์, และประเด็นการพัฒนาต่าง ๆ เขาได้สนับสนุนการผลักดันกฎหมายคุ้มครองวิถีชีวิตและส่งเสริมสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองผ่านผลงานวิชาการและการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ให้ออกสู่สาธารณะมากยิ่งขึ้น

      ล่าม

      สิริพร ด่านสกุล

      อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

      สถาปนิกและล่ามแปลงานศิลปะ

      จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมและศิลปอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยชิบะและระดับปริญญาโทจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันทำงานในฐานะอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยร่วมงานกับเจแปนฟาวน์เดชั่นในปี ค.ศ. 2018 ในการจัดทำการแปลหนังสือสำหรับนิทรรศการ “เมืองต้องสู้: โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960”

      ช่องทางติดต่อ

      เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ

      ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ 159  ถ.สุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ 10110

      โทร : +66-2-260-8560~3 

      อีเมล : acdept@jfbkk.or.th

      สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

      The Japan Foundation, Bangkok Facebook Page

      [td_block_social_counter facebook="/MusicArtMagazine" youtube="channel/UCkBloEDlSI8SYOr4tp50z-g" instagram="musicandartmag" open_in_new_window="y" style="style8 td-social-boxed td-social-font-icons"]

      Related Stories