More
    More

      นิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้ผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

      -

      นิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้ผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

      2022 Acquisitions

      Office of Contemporary Art and Culture

      23 พฤศจิกายน – 25 ธันวาคม 2565

      ณ ห้องนิทรรศการ 4 ชั้น 1 หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

      ครั้งแรกของการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสะสมประจาปี “Acquisitions Exhibition” ซึ่งกระทรวง วัฒนธรรม โดยสานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้รวบรวมผลงานศิลปะร่วมสมัยอันทรงคุณค่า จากบรรดาศิลปิน ชาวไทยผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายทั้งในวงการศิลปะระดับประเทศและในระดับนานาชาติจานวน ทั้งสิ้น 16 คน จากผลงานสร้างสรรค์ 20 ผลงาน จานวนทั้งสิ้น 79 ชิ้น ซึ่งเปรียบเสมือนการบันทึกเรื่องราว ที่น่าสนใจผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัย และยังเป็นการสะท้อนมุมมองของศิลปินต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ปัจจุบัน

      นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม


      นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า “นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึง ปัจจุบัน สานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อเป็นทุนและพลังขับเคลื่อนในการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย พ.ศ. 2551 และยุทธศาสตร์ส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้ทาหน้าที่เก็บรวบรวมองค์ความรู้อันทรงคุณค่าด้านศิลปะร่วมสมัย จากผลงาน ศิลปกรรมที่สร้างสรรค์โดยศิลปินชาวไทยผู้มีชื่อเสียงอันเป็นที่ประจักษ์ในแวดวงศิลปะร่วมสมัยทั้งในประเทศ และระดับสากล ในทุกมิติเอาไว้เพื่อเป็นสมบัติของชาติ มากกว่า 500 ชิ้นงาน


      โดยในปีงบประมาณพุทธศักราช 2565 สานักงานฯ ร่วมกับคณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการ พิจารณาคัดเลือกผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้คัดสรรผลงานศิลปะอันทรงคุณค่า และควรแก่การเก็บรักษา เพื่อเป็นสมบัติ ของชาติเพิ่มเติมอีกจานวน 79 ชิ้นงาน (จาก 20 ชุดผลงาน) ประกอบด้วย ผลงานศิลปะภาพถ่าย ศิลปะจัดวาง ภาพเคลื่อนไหว สื่อผสม จิตรกรรม และประติมากรรม โดยส่วนใหญ่เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2011 – 2022 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มและพัฒนาการในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วม สมัยของศิลปินไทยในยุคปัจจุบัน


      เห็นได้ว่านิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้ของผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่จัดขึ้นในครั้งนี้ จะเป็นองค์ความรู้ ที่สาคัญให้แก่เยาวชนและผู้สนใจในงานศิลปะ ได้เรียนรู้ถึงแนวความคิด เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ ตลอดจน สุนทรียศาสตร์ กระบวนทัศน์ และประวัติศาสตร์ของสังคมร่วมสมัย รวมทั้งยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุน และพัฒนาแวดวงวิชาชีพศิลปิน ตลอดจนกระบวนการสร้างสรรค์และส่งต่อคุณค่าในงานศิลปะแพร่หลายสู่สังคม ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป”
      ศูนย์หอศิลป์ สานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย โทร. 0 2209 3757

      นิทรรศการ“2022 Acquisitions Office of Contemporary Art and Culture”เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) โดยไม่มีค่าเข้าชม ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน – 25 ธันวาคม 2565 เวลา 10:00 – 18:00 น. ณ ห้องนิทรรศการ 4 ชั้น 1 อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

      ตัวอย่างผลงานในนิทรรศการฯ

      อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล I Apichatpong Weerasethakul

      ประวัติศาสตร์กระจ้อยร่อย ภาค 1 & 2 I A Minor History Part 1 & 2, 2021-2022

      ประวัติศาสตร์กระจ้อยร่อย ภาค 1 I A Minor History Part 1, 2021
      วีดิโอจัดวาง 3 จอ, เสียง 5.1 Dolby, 17:11 นาที,
      ภาพพิมพ์อิงค์เจ็ท I 3-channel video installation, 5.1 Dolby Audio, 17:11 mins, inkjet wall print 2/5
      ขนาดผันแปรตามพื้นที่ I Dimensions variable

      อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์ ประจำปี พ.ศ. 2548 และผู้กำกับชาวไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติจากการสร้างประวัติศาสตร์คว้ารางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ถึง 3 ครั้ง ใช้ศิลปะภาพยนตร์ในการเล่าเรื่องแบบไม่เป็นเส้นตรง (non-linear) อันเกี่ยวเนื่องกับแสง เวลา ความฝัน ความทรงจำส่วนตัว และความทรงจำทางสังคม ประวัติศาสตร์กระจ้อยร่อย หรือ A Minor History นำเสนอ “ประวัติศาสตร์” ในฐานะบทสนทนาอันไม่รู้จบระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวและความทรงจำของสามัญชนคนตัวเล็กตัวน้อยและตำนานความเชื่อจากภาคอีสาน พื้นที่ที่ถูกกดทับทางสังคมและการเมือง มาอย่างยาวนาน อภิชาติพงศ์บันทึกบทสัมภาษณ์ ภาพถ่าย และมุมมองต่าง ๆ ที่เขาค้นพบระหว่างเดินทางเลียบแม่น้ำโขง เริ่มต้นจากขอนแก่นบ้านเกิด ไปจนถึงหนองคาย กาฬสินธุ์ สกลนคร มุกดาหาร และอุบลราชธานี ระหว่างการล็อกดาวน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2564  

                  ประวัติศาสตร์กระจ้อยร่อยภาคแรกนำเสนอวีดิโอจัดวางสามจอ สะท้อนความพยายามค้นหาพื้นที่และการตั้งคำถามว่าตัวตน ความสุข และเสรีภาพคืออะไร ภาพโรงภาพยนตร์เก่าจากกาฬสินธุ์ที่เหลือแต่โครงผุพัง ถูกนำเสนอเทียบเคียงกับภาพลำน้ำโขงยามค่ำคืนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาที่ไม่อาจหวนกลับ โดยมีฉากหมอลำอยู่เบื้องหลัง

      อภิชาติพงศ์ทำงานร่วมกับอัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร ผู้มิกซ์เสียงให้ผลงานของเขาทุกชิ้น และยังร่วมงานกับ เมฆ’ครึ่งฟ้า กวีรุ่นใหม่ชาวอีสาน ซึ่งได้แต่งเรื่องและพากย์เสียงด้วยตัวเอง ผลงานการเล่าเรื่องแบบลูกผสมทั้งภาพยนตร์ การพากย์เสียงละครวิทยุ และการแสดงหมอลำล่องลอยอยู่ระหว่างพื้นที่แห่งความจริงและความฝัน สะท้อนถึงความเสื่อมสลายของความทรงจำและภาพแทนที่สร้างขึ้น ตลอดจนการล่มสลายของการเล่าเรื่องและความจริงทางสังคม

      ประวัติศาสตร์กระจ้อยร่อย ภาค 2 I
      A Minor History Part 2,
      2022

      Beautiful Things (Desires), 2022
      วีดิโอเงียบ 10:50 นาที I Silent video 10:50 mins 2/5

      ในภาคสองของ ประวัติศาสตร์กระจ้อยร่อย ภายใต้ช่ือ Beautiful Things (สิ่งสวยงาม) อภิชาติพงศ์ยังคง – Of Love, Of Lights, 2022, ภาพถ่าย I Giclée print 2/5, 106 x 159 cm

      เดินทางสารวจความเป็นไปของสังคมไทย นาเสนอผ่านวีดิโอและภาพถ่ายสองมิติประกอบด้วยฉากภายในห้องพัก โรงแรม โรงภาพยนตร์เก่าท่ีเหลือแต่โครงผุพังและฉากหมอลาที่วาดและลงสีเป็นภาพท้องพระโรงอัน ว่างเปล่า

      อภิชาติพงศ์ใช้มุมมองหรือ perspective ดึงดูดความสนใจไปยังความทรงจา ความฝัน และความเป็นจริง ในภาพถ่าย จุดสุดสายตา (vanishing point) ถูกใช้เพื่อสร้างความสมจริงให้กับภาพภายในห้อง ในขณะที่จุดรวม สายตาหลายจุดถูกนามาวางซ้อนทับบนภาพต้นฉบับบางภาพ เช่น ภาพการบรรจบกันของแม่น้าโขงและแม่น้ามูล ที่ชายแดนไทย-ลาว และภาพเสา กาแพงและเพดานที่พังทลายถูกฉาบทับลงบนภาพห้องพัก การใช้แสงและเงา ของเขาทาให้ภาพถ่ายมีบรรยากาศลึกลับ ด้วยวิธีการนี้เขาตั้งคาถามเกี่ยวกับสิ่งที่เราเห็นในภาพที่สัมพันธ์กับความ เป็นจริง และไตร่ตรองถึงบทบาทของศิลปะในการเปิดเผยความจริงเหล่านั้น

      Beautiful Things นาเสนอมุมมองเกี่ยวกับโลกรอบตัวของอภิชาตพงศ์ แสดงให้เห็นการใคร่ครวญของเขา เกี่ยวกับความงาม ความเป็นจริง ความรู้ ความก้าวหน้า และการปฏิวัติ สิ่งสวยงามจะเปิดเผยตัวตนก็ต่อเมื่อเราเฝ้า สังเกตธรรมชาติด้วยความละเอียดอ่อน สาหรับอภิชาติพงศ์ความงามเปรียบได้กับการเดินป่า รับรู้ถึงผู้ร่วมเดินทาง คนอื่น ๆ และอยู่กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ดารงอยู่ตามวัฏจักรธรรมชาติ การสะดุ้งตื่นจากเสียงกัมปนาทและการ ตระหนักรู้ถึงมุมมองที่แตกต่าง การต่อสู้ดิ้นรน ความปรารถนาที่จะดาเนินต่อไป กระทั่งการอยู่กับปัจจุบัน ล้วนเป็น ส่วนหนงึ่ของการประกอบสร้าง‘สิ่งสวยงาม’ในสังคม

      Burqa 01, 2010
      ภาพพิมพ์สีบนกระดาษ I Pigment print on paper 3/5
      150 x 100 cm / each

      อำพรรณี สะเตาะ l Ampannee Satoh

      อำพรรณี สะเตาะ เป็นศิลปินภาพถ่ายหญิงที่มีผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ สะท้อนมุมมองรอบตัว โดยเฉพาะประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและศาสนา ดินแดน และการอพยพย้ายถิ่นฐาน เพื่อตั้งคำถามถึงสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์ทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศ และนานาชาติ ผ่านเทคนิคการถ่ายภาพที่ปราศจากการตัดต่อ

                  ผลงานชุด Burqa 01 ถ่ายทอดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญระหว่างที่อำพรรณีกำลังศึกษาต่อสาขาภาพถ่าย ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสประกาศใช้กฎหมายห้ามผู้หญิงสวมผ้าคลุมหน้าและศีรษะในที่สาธารณะ ใน ค.ศ. 2010 แม้จะมีจุดประสงค์เพื่อลดการแบ่งแยกทางสังคม แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับเป็นการเพิ่มความรู้สึกของการถูกกดทับและลิดรอนเสรีภาพในชีวิต รวมถึงเป็นการสร้างความเคลือบแคลงสงสัยในหลักการเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ อันเป็นปณิธานความเป็นประชาธิปไตยแบบฝรั่งเศส อำพรรณีในฐานะหญิงมุสลิมร่วมต่อต้านกฎหมายดังกล่าวผ่านภาพถ่ายตนเองสวมชุดคลุมร่างกายหรือชุดบุรก้าที่สั่งตัดจากบ้านเกิดอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สีน้ำเงิน ขาว และแดงสดตามอย่างธงชาติฝรั่งเศสของบุรก้าตัดกับสถานที่สำคัญอย่างประตูชัย อาร์กเดอทรียงฟ์และหอไอเฟล เพื่อสื่อสารและตั้งคำถามต่อสังคมฝรั่งเศสและโลกถึงความย้อนแย้งของกฎหมายดังกล่าวในโลกเสรีประชาธิปไตย

      [td_block_social_counter facebook="/MusicArtMagazine" youtube="channel/UCkBloEDlSI8SYOr4tp50z-g" instagram="musicandartmag" open_in_new_window="y" style="style8 td-social-boxed td-social-font-icons"]

      Related Stories